ข้อบังคับของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย
ฉบับแก้ไขวันที่ 24 ตุลาคม 2560 และประกาศใช้วันที่ 23 มกราคม 2561
ข้อ 1. สมาคมนื้มีชื่อว่า สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่ง ประเทศไทย ย่อว่า ส.ท.จ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
Thai Association of Orthodontists ย่อว่า Tha.A.O.
ข้อ 2. เครื่องหมายของสมาคมฯมีลักษณะเป็นรูปหัวใจที่มีเครื่องหมาย ลูกศรอยู่ตรงกลาง ภายในกรอบวงกลมที่มีชื่อ สมาคมทั้งไทยและอังกฤษอยู่ ล้อมรอบ
ข้อ 3. สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
4.1 ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ การศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน
4.2 ส่งเสริมความสามัคคีของสมาชิก และเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพ
4.3 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทันตกรรมจัดฟันให้กับประชาชน
4.4 ช่วยเหลือสังคมอันเป็นสาธารณประโยชน์
4.5 บำรุงกิจกรรมนันทนาการแก่สมาชิก
4.6 สนับสนุน ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ข้อ 5. สมาชิกของสมาคมมี 5 ประเภท คือ 5.1 สมาชิกสามัญ 5.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ 5.3 สมาชิกสมทบ
5.4 สมาชิกนักศึกษา
5.5 สมาชิกนานาชาติ
ข้อ 6. สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
6.1 สมาชิกสามัญ
สมาชิกสามัญจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
6.1.1 เป็นทันตแพทย์ที่ถือสัญชาติไทยและได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม
6.1.2 สำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมทางวิชาทันตกรรมจัดฟันในหลักสูตรและสถาบันที่ทันตแพทยสภารับรอง หรือ หลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยผ่านการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน และ เป็นหลักสูตรเต็มเวลาไม่ตํ่ากว่า 2 ปี จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศ และ ด้วยความเห็นชอบจากสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย
6.1.3 สำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมทางวิชาทันตกรรมจัดฟันจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่าง ประเทศ โดยเป็นหลักสูตรเต็มเวลาไม่ตํ่ากว่า 2 ปี และหลักสูตรเป็นที่รับรองโดยสมาคมทันตแพทย์จัดฟันของประเทศที่สถานศึกษานั้นๆตั้งอยู่ และ ด้วยความเห็นชอบจากสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย
6.1.4 ทันตแพทย์ที่ได้รับอนุมัติบัตร หรือ วุฒิบัตรสาขาทันตกรรมจัดฟันจากทันตแพทยสภาแห่งประเทศไทย
6.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์
คือ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการคุณต่อวงการทันตกรรมจัดฟันซึ่งคณะกรรมการของสมาคมฯ ลงมติเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมฯ
6.3 สมาชิกสมทบ
คือ ทันตแพทย์ที่มีความสนใจในวิชาทันตกรรมจัดฟัน และ มีสมาชิกสามัญรับรองไม่น้อยกว่า 2 คน และ คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้
6.4 สมาชิกนักศึกษา
จะต้องเป็นนักศึกษาหลังปริญญาสาขาทันตกรรมจัดฟันในหลักสูตรและสถาบันที่ทันตแพทยสภารับรอง หรือ หลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยผ่านการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน และ เป็นหลักสูตรเต็มเวลาไม่ตํ่ากว่า 2 ปี จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศ โดยมีหัวหน้าภาควิชาหรือประธานหลักสูตรของสถานศึกษานั้นๆลงนามรับรอง และ คณะกรรมการของสมาคมฯ มีมติเห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้
ในกรณีเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทันตกรรมจัดฟันแล้ว เมื่อหมดปีการศึกษานั้นจะพ้นสถานะการ เป็นสมาชิกนักศึกษา และ มีสิทธิในการสมัครเป็นสมาชิกสามัญได้ทันที
6.5 สมาชิกนานาชาติ
คือ ทันตแพทย์จัดฟันต่างชาติที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฯ โดยบุคคลนั้นจะต้องเป็นสมาชิกของ สมาคมหรือชมรมทันตแพทย์จัดฟัน/ทันตกรรมจัดฟันของประเทศสมาชิกของ Asian Pacific Orthodontic Society (APOS) หรือ World Federation of Orthodontists (WFO)
ข้อ 7. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
7.1 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ 6
7.2 ให้ยื่นใบสมัครต่อนายทะเบียนของสมาคมฯโดยมีสมาชิกสามัญรับรอง 2 คน
7.3สมาชิกภาพจะสมบูรณ์เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานอนุมัติรับและได้ชำระค่าบำรุงแล้ว
ข้อ 8. ค่าลงทะเบียนเป็นสมาชิกและค่าบำรุง
8.1 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนแรกเข้าและค่าบำรุงประจำปี
8.2 สมาชิกสามัญ ผู้สมัครจะต้องชำระค่าบำรุงสมาชิกตลอดชีพเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท
8.3 สมาชิกสมทบ ผู้สมัครจะต้องชำระ ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 1,000 บาท ค่าบำรุงประจำปี ปีละ 500 บาท
ในกรณีสมาชิกสมทบค้างชำระค่าบำรุงประจำปี การต่ออายุจะต้องเสียค่าบำรุงย้อนหลังและหากค้างค่าบำรุงเกิน 2 ปี จะต้องเสียค่าลงทะเบียนแรกเข้าใหม่
8.4 สมาชิกนักศึกษา ผู้สมัครจะต้องชำระ
ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 500 บาท ค่าบำรุงประจำปี ปีละ 500 บาท
8.5 สมาชิกนานาชาติ สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้คราวละ 2 ปี โดยจะต้องชำระ
ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 50 ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าบำรุงประจำปี 2 ปี (1 รอบ) เป็นเงิน 50 ดอลลาร์สหรัฐ
ในกรณีสมาชิกค้างชำระค่าบำรุงประจำปีไม่เกิน 2 รอบ (4ปี) การต่ออายุจะต้องเสียค่าบำรุงประจำปี ย้อนหลัง และหากค้างค่าบำรุงเกิน 2 รอบ (4 ปี) จะต้องเสียค่าลงทะเบียนแรกเข้าใหม่
ข้อ 9. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกมีดังนี้
9.1 สมาชิกมีสิทธิและได้รับประโยชน์ภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
9.2 สมาชิกมีหน้าที่ให้ร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมฯ
9.3 สมาชิกมีสิทธิรับทราบข่าวสารหรือเอกสารทางวิชาการที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการสมาคมฯ
ตราบที่ยังดำรงสมาชิกภาพของสมาคมฯอยู่
9.4 สมาชิกมีสิทธิไต่ถามคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อตรวจเอกสารบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมฯได้
9.5 สมาชิกผู้ใดย้ายที่อยู่ ที่ทำงาน เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ยศ อภิไธย ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็น
ลายลักษณ์อักษร
9.6 สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ประจำปี สมาชิกสามัญมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนละ
1 คะแนน
9.7 สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 อของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่
คณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
ข้อ 10. การขาดสมาชิกภาพ
10.1 ตาย
10.2 ลาออก
10.3 สมาชิกสมทบ หรือ สมาชิกนานาชาติที่ขาดส่งค่าบำรุงประจำปีติดต่อกันเกินกําหนดตามข้อ 8.3
และ 8.5
10.4 กระทำตนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือนำความเสียหายมาสู่สมาคมฯและวิชาชีพ และ
คณะกรรมการมีมติให้ออก
10.5 เมื่อนักศึกษาหลังปริญญาสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาจะถือว่าเป็นการสิ้นสภาพ
ของสมาชิกนักศึกษาโดยปริยาย
ข้อ 11. คณะกรรมการประกอบด้วย
1. นายก
2. อุปนายก
3. นายกสำรอง
4. เลขาธิการ
5. เหรัญญิก
6. นายทะเบียน
7. ประธานวิชาการ
8. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
9. สาราณียกร
10. กรรมการกลาง 6 ตำแหน่ง
ทั้งหมดรวมเป็น 15 คน
ข้อ 12 ที่มาของกรรมการ
12.1 นายกสมาคม มาจากนายกสำรองของคณะกรรมการสมาคมในวาระที่ผ่านมา
12.2 นายกสำรองและอุปนายกได้จากการเลือกตั้งในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในปีสุดท้ายของวาระกรรมการชุดที่กำลังดำรงตำแหน่งขณะที่มีการประชุมใหญ่สามัญฯ
12.3 นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ นอกเหนือจากนายกสำรองและอุปนายก หากตำแหน่งกรรมการดังกล่าวต้องว่างลงก่อนหมดวาระ ให้แต่งตั้งสมาชิกสามัญคนหนึ่งคนใดเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนั้น
12.4 คณะกรรมการดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี แต่ให้มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่จนกว่าการแต่งตั้งกรรมการ ชุดใหม่จะเสร็จสมบูรณ์
12.5 ในกรณีที่นายกสมาคมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระได้ ให้อุปนายกสมาคมทำหน้าที่ต่อจน หมดวาระ
12.6 นายกสมาคมสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ตามที่เห็นสมควร กรณีที่มีจำนวนที่ปรึกษาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้คณะที่ปรึกษาเลือก 1 คน เพื่อดำรงตำแหน่ง “ประธานที่ปรึกษา”
ข้อ 13.อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
13.1 บริหารกิจการของสมาคมฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
13.2 ออกระเบียบ แก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกระเบียบของสมาคมฯ ได้
13.3 จัดการทรัพย์สินและดูแลผลประโยชน์ของสมาคมฯ
13.4 จัดการประชุมใหญ่สามัญปีละ 1 ครั้ง
13.5 จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อมีเหตุอันควร หรือ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอ ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
13.6 จัดการประชุมวิชาการ ตามความเหมาะสม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
13.7 จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 14. การประชุมคณะกรรมการ
14.1 การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานให้มีอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
14.2 นายกสมาคมหรือกรรมการตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป จะเรียกประชุมคณะกรรมการได้เมื่อเห็นสมควร
14.3 การประชุมของคณะกรรมการแต่ละครั้งจะต้องมีกรรมการอยู่ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็น
องค์ประชุม
14.4 การลงมติ ให้ถือเสียงส่วนใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้นายกสมาคมเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 15. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี
15.1 สมาคมจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี ปีละ 1 ครั้ง และจำนวนสมาชิกสามัญ
จะต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จึงจะเป็นองค์ประชุมได้
15.2 การลงมติ ให้ถือเสียงส่วนใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้นายกสมาคมฯเป็นเสียงชี้ขาด
15.3 การประชุมสามัญประจำปี ต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
– แถลงผลการดำเนินงานสมาคมฯในรอบปีที่ผ่านมา
– แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และงบดุลของสมาคมฯ
– เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
– เลือกตั้งนายกสำรองและอุปนายกเมื่อครบกําหนดวาระ
15.4 สมาคมฯสามารถจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญได้เมื่อมีเหตุอันควร หรือ เมื่อสมาชิกสามัญ
เข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอ โดยจำนวนสมาชิกสามัญ
จะต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ 16. การประชุมวิชาการจะจัดให้มีอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
ข้อ 17. สมาคมฯอาจมีรายได้เพื่อดำเนินการดังนี้
17.1 เงินค่าจดทะเบียนและเงินค่าบำรุงจากสมาชิก
17.2 เงินอุดหนุนและเงินบริจาคที่สมาคมฯได้รับ
17.3 เงินรายได้อื่นๆ
ข้อ 18. เหรัญญิกมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินของสมาคมฯให้มีสมุดบัญชีและหลักฐานแห่งการรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงินไว้ ให้เหรัญญิกรายงานฐานะการเงินของสมาคมฯต่อคณะกรรมการทุกครั้งที่ได้มีการประชุมของคณะกรรมการ
ข้อ 19. การจ่ายเงินของสมาคมฯ ให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีการที่คณะกรรมการได้กําหนดขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 20. เงินรายได้ของสมาคมฯ ให้นำฝากธนาคารไว้ในนามของสมาคมฯ การถอนเงินจากธนาคารให้นายกสมาคมหรืออุปนายกสมาคมและเหรัญญิกเป็นผู้ลงนามถอนร่วมกันทุกครั้ง
ข้อ 21. นายกสมาคมฯมีอำนาจสั่งจ่ายเงินครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการสมาคมฯ
ข้อ 22. เหรัญญิกมีอำนาจในการเก็บเงินไว้เพื่อการใช้สอยเบ็ดเตล็ดของสมาคมฯ ได้ไม่เกินคราวละ 10,000 บาท
ข้อ 23. ให้เหรัญญิกรายงานฐานะการเงินของสมาคมฯ ต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ข้อ 24. เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือของนายกสมาคม หรือผู้ทำการแทนร่วมกับเหรัญญิก หรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ 25. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมและจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ 26. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถจะเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อ 27. การแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคมฯ อาจจะกระทำได้โดย
27.1 คณะกรรมการเป็นผู้เสนอ หรือ
27.2 สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน เข้าชื่อกันเสนอ
ข้อ 28 . เมื่อมีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนข้อบังคับของสมาคมฯให้เลขาธิการจัดพิมพ์ข้อความที่เสนอขอแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของสมาคมฯ นั้นไว้ และแจ้งให้สมาชิกสมาคมฯทราบก่อนมีการประชุมใหญ่อย่างน้อย 15 วัน
ข้อ 29. เมื่อมีการประชุมใหญ่ให้คณะกรรมการนำข้อเสนอขอแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยน แปลงข้อบังคับของสมาคมฯ นั้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่และต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่ตํ่ากว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่มาประชุม
ข้อ 30. เมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติให้เลิกล้มสมาคมฯ จะต้องมีคะแนนเสียงให้เลิก 4/5 ของสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงและมาประชุมโดยวิธีลงคะแนนลับ
ข้อ 31. ในการประชุมใหญ่ดังกล่าว ให้แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ด้วยว่าจะมีการพิจารณาเรื่องการเลิกสมาคมฯ
ข้อ 32. ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้งผู้ชำระบัญชี การชำระบัญชี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเลิกสมาคมฯ และชำระบัญชี
ข้อ 33. เมื่อชำระบัญชีเสร็จหากยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย