โครงการทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

โดย รศ.(พิเศษ) ทพญ. สมใจ สาตราวาหะ

Mobile-ortho-1

Mobile-ortho-2

Mobile-ortho-3

หลายๆคนคงอยากรู้รายละเอียดความเป็นมาของโครงการทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ซึ่งกำลังจะเกิดผลเป็นครั้งแรกในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ก็ขอเล่าเคร่าๆว่าสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทยและมูลนิธิทันตกรรมจัดฟันแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งโครงการ ช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.?? ?รวบรวมทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันที่สนใจที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

2.?? ?จัดการอบรมให้ความรู้แก่ทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันทั่วประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างถูกวิธี และเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

3.?? ?ประสานงานระหว่างทันตแพทย์ซึ่งมีปัญหาในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้กับบุคลากรทางการแพทย์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ

4.?? ?ให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาบางส่วนแก่ผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน

5.?? ?ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความพิการปากแหว่งเพดานโหว่

โดยให้ชื่อโครงการว่า ?Complete CLP?s life?

ต่อมาได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมทำงานในโครงการ ?ยิ้มสวย เสียงใส? เทิดพระเกียรติ 50 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์โดยทำงานร่วมกับสภากาชาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งสมาคม ชมรมวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง สมาคมฯและมูลนิธิฯ เห็นว่าจะสามารถทำให้ช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ได้แบบองค์รวมร่วมกับบุคคลากรทางแพทย์สาขาอื่น เพราะมีการร่วมมือกันโดยตรงและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีการขึ้นทะเบียนติดตามนำผู้ป่วยมารับการรักษาตั้งแต่แรกเกิดทั้งยังติดตามดูแลไปตามระยะของการพัฒนาการของการเจริญเติบโตของผู้ป่วย โครงการนี้นอกจากได้รวมเอาบุคคลากรทางแพทย์ที่มีส่วนสำคัญในให้การรักษามาทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้กันแล้ว ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้รวมทั้งเทคนิคในการรักษาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยด้วย ในส่วนของสมาคมฯและมูลนิธิฯของได้เน้นจัดการในเรื่องให้การอบรมบุคคลากรคือจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันที่สนใจมีใจเมตตาที่จะให้ความช่วยเหลือให้การรักษาเด็กที่เกิดมามีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เรื่อง ?การใช้เพดานเทียมในเด็กแรกเกิดที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่? โดยได้จัดให้มีการปฏิบัติงานจริงในผู้ป่วยเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ตรงในการให้บริการ และสามารถให้คำแนะนำในการรักษาแก่ผู้ปกครองที่มีเด็กแรกเกิดที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในสถานพยาบาลที่เหมาะสมต่อไปได้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้ทำไป 10 แห่งทั่วประเทศไทย ทั้งภาคกลาง เหนือ ใต้ อีสาน และ ภาคตะวันออก มีทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันสนใจเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก

จากการที่จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวทำให้เกิด Core center ขึ้นหลายแห่ง มี Key persons หลายคนทั้งวิทยากรและผู้อำนวยการอบรม ทำให้เริ่มมีเค้าโครงของการเกิดเครือข่ายขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เมื่อปลายปีที่แล้วสมาคมฯได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลสมุทรปราการขอทันตแพทย์จัดฟันไปช่วยจัดฟันให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของโรงพยาบาลโดยบอกว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากแต่โรงพยาบาลไม่มีทันตแพทย์จัดฟัน คืออยากให้ไปช่วยเริ่มให้การรักษาเพื่อวางพื้นฐานให้ โดยทางโรงพยาบาลมีทันตแพทย์ที่กำลังไปเรียนต่อด้านทันตกรรมจัดฟันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งจะสามารถรับงานต่อได้ สมาคมฯได้ส่งผู้แทนไปเยี่ยมชมหน่วยงานทันตกรรมของโรงพยาบาลสมุทรปราการเพื่อดูความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกันที่จะจัดให้มีหน่วยทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ไปปฎิบัติการ พบว่ามีความพร้อมในทุกด้านจึงได้ขอให้ทางโรงพยาบาลได้ติดตามผู้ป่วยที่ต้องการขอรับการรักษามา โดยขอให้มีจำนวนที่เหมาะสมคืออย่างน้อย 5 คน เพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป ขณะนี้ทางโรงพยาบาลกำลังดำเนินการดังกล่าว

การที่มีการติดต่อมาจากโรงพยาบาลสมุทรปราการขอทันตแพทย์จัดฟันไปช่วยจัดฟันให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ นับเป็นจุดเริ่มของการรวบรวมทันตแพทย์จัดฟันที่มีจิตอาสาเพื่อโครงการทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ในระหว่างที่รอการติดต่อมาอีกจากโรงพยาบาลสมุทรปราการ พี่ปอง (ทพญ.ปองใจ วิรารัตน์)ได้ปรึกษาดิฉันว่าไปจัดฟันที่โคราชดีไหม พี่ปองมีผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันหลายคน ดิฉันก็เห็นความเป็นไปได้จึงได้นำโครงการมาเสนอต่อสมาคมฯและมูลนิธิฯ รวมทั้งได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบเป็นระยะๆ ก็ได้มีทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟันมาสมัครเข้าร่วมโครงการ ณ ขณะนี้ตามรายนามดังต่อไปนี้

1.?? ?ทพ. ธานัน จารุประกร

2.?? ?ทพญ.มัลลิกา ลิมป์อนันต์ชัย

3.?? ?ทพญ.พรคณา อัศวหน้าเมือง

4.?? ?ทพญ. ชมพูนุช ธัญญการ

5.?? ?ทพญ.วลีรัชฎ์ บุญโสธรสถิตย์

6.?? ?ผศ. ทพญ. มารศรี ชัยวรวิทย์กุล

7.?? ?ทพ.อรัญ ร่วมเผ่าไทย

8.?? ?ทพ.ชยพล ฉวีวรรณากร

9.?? ?ผศ. ทพญ. ชุติมาพร เขียนประสิทธิ์

10.?? ?ผศ. ทพญ. วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล

11.?? ?อ. ทพญ. นงลักษณ์ เจริญวรลักษณ์

12.?? ?รศ. ทพญ.นิตา วิวัฒนทีปะ

13.?? ?อ. ทพญ. รชยา จินตวลากร

14.?? ?อ.ทพญ. นันทินี? นันทวณิชย์

15.?? ?ทพญ. ฐิฏิมา ศุขเขษม

16.?? ?ผศ. ทพญ. คุณหญิงกมลทิพย์ หุตะสิงห์

17.?? ?อ.ทพ.พูนศักดิ์? ภิเศก

18.?? ?ทพ. ปริญญา ปฐมกุลมัย

19.?? ?ทพญ. ปองใจ วิรารัตน์

20.?? ?รศ.(พิเศษ) ทพญ. สมใจ สาตราวาหะ

โครงการทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นโครงการในส่วนของสมาคมฯและมูลนิธิฯของเรา สรุปสั้นๆว่าเราพาทันตแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟันที่มีจิตอาสาไปจัดฟัน ดูแลสุขภาพในช่องปากให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เดือนละครั้ง และจะทำต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลา 1 ปี และอาจขยายเวลาออกไปอีกถ้าจำเป็น

ในส่วนอื่นๆที่จะทำให้การออกหน่วยทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นไปได้ ได้อาศัย connection ที่เกิดจากจากปฏิบัติงานในโครงการ ?ยิ้มสวย เสียงใส? ทำให้การประสานงานมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็ว อยากขอใช้คำว่า ?ทุกคนทุกฝ่าย มีใจให้อยู่แล้ว? ก็คือ สภากาชาดไทยจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะไปปฎิบัติงานในการเดินทางไปกลับโดยจัดรถยนต์พร้อมคนขับรถรับส่งทุกครั้งที่ไปปฎิบัติงาน พร้อมทั้งอนุมัติให้หมอตะเกียง (ทพญ. ฐิฏิมา ศุขเขษม) ไปช่วยในโครงการนี้ทุกครั้ง และยังออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้ป่วยทุกครั้งที่หมอนัดมาทำการรักษา ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมานั้นก็มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาจุดนี้ให้เป็นศูนย์ในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และสามารถพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านนี้เพื่อกระจายการให้การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ไปยังส่วนต่างๆของประเทศมากขึ้น ถ้าศูนย์ที่โคราชมั่นคงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะสามารถให้การช่วยเหลือในการก่อตั้งศูนย์การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อื่นๆเพิ่มขึ้นในส่วนที่มีความพร้อมและมีความต้องการที่จะจัดตั้ง? ในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็มีหน้าที่ดูแลค่ารักษาพยาบาลในชุดสิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ

ทำไมต้องไปที่โคราช?

1.?? ?ที่นั่นมีความพร้อมทั้งโรงพยาบาล หน่วยงาน ห้องปฎิบัติการ ฯลฯ มีผู้ป่วยมากพอ ตอนนี้พี่ปองนัดผู้ป่วยอายุ 8 ปีขึ้นไป มาในวันที่ 16 พฤศจิกายน นี้ 20 คน

2.?? ?มีทันตแพทย์จัดฟัน มี Plastic surgeon มี Maxillofacial surgeon มี Speech therapist มีหน่วยสังคมสงเคราะห์

3.?? ?ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้าหน่วยงานทันตกรรมทันตแพทย์ทุกคน ผู้ช่วยทันตแพทย์ทุกคน เจ้าหน้าที่ห้อง lab ทันตกรรมทุกคนสนับสนุนและยินดีช่วยงาน

4.?? ?มีทันตแพทย์ของโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กำลังศึกษาต่อด้านทันตกรรมจัดฟันที่มหาวิทยาลัยมหิดล จะสามารถกลับไปช่วยงานได้ในไม่ช้านี้

5.?? ?โคราชไม่ไกลเกินไป สามารถเดินทางไปเช้าเย็นกลับได้

สมาคมฯและมูลนิธิฯมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จะสามารถดำเนินงานไปได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยการวางแผนที่ดี และแรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ของทุกฝ่าย เป็นโครงการหนึ่งในการมุ่งทำความดีเพื่อช่วยเหลือสังคมของสมาคมฯและมูลนิธิฯ แม้นอาจจะยังเป็นเหมือนการปิดทองหลังพระ ก็เป็นสิ่งที่ดี